แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Mae nag แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Mae nag แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แม่นาก 2/3 แม่นากฉบับเบื้องตื้น!!


แม่นาก 2/3 แม่นากฉบับเบื้องตื้น!!






A. แม่นาก ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก..😱

ผู้คนส่วนใหญiจะรู้จักแม่นากผ่านสื่อบันเทิงที่เป็นหนัง, ละคร มากกว่าสื่อประเภทอื่น พร็อทเรื่องรวมๆ ประมาณนี้...

เปิดเรื่อง:
 แอ่นแอนแอ๊ลล!.......แม่นากมีผัวชื่อมาก ทั้งสองรักกันหวานซึ้ง มีฉากฟรุ้งฟริ้ง ทิดมากเพ้อข้างหูแม่นาก ว่า ...♥.😚 เก๊ารักตัวจุงเบย ♥.😯...☔ มีฉากตักน้ำ ปลูกผัก⛅ ฉากทำกับข้าว เป่าหนังยาง ตื่นตอนเช้าก็จะมีฉากร้องเพลงคู่ นกเขาคูรัก ทั้งสองมีการชะเวิ๊บชะว๊าบกันจนแม่นากตั้งท้อง............ แต่เนื่องจากมันเป็นหนังผีไม่ใช่หนัง AV ญี่ปุ่น ทางผู้สร้างเลยตัดการถ่ายทำฉากกิจกรรมอันนั้นออกไป......... ถึงตอนนี้ก็ยังเน้นบทสวีท+แม่นากดูแลเอาใจใส่ผัวอยู่เหมือนเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อเก็บคะแนนความเห็นใจจากคนดูให้ได้มากที่สุด เพราะถ้าถึงตอนที่แม่นากตายเป็นผี แล้วออกไปเที่ยวบีบคอคนนั้นนิด ฆ่าคนนี้หน่อย เพื่อปิดปากกลบความจริงเรื่องการตายของตน คนดูจะได้เห็นดีเห็นงามกับการการฆ่าของนาง เพราะผีนางเอกมีคำว่า ♥คฟวามรัก♥ มาเป็นข้ออ้างในการกระทำของตน พลิกจากผีฆาตกรที่พยายามปิดบังความจริง มาเป็นผีผู้น่าเทิดทูนชาบูกันต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------

ต่อมา:
 แม่นากท้องแก่, พ่อมากดวงซวยไปตามทำเนียมความเชื่อของชายไทย ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร แต่เนื่องจากมันเป็นหนังผี ไม่ใช่หนังสงคราม ผู้สร้างเลยเซฟงบ โดยอาจทำฉากทะหารต่อสู้กับกองโจรที่บังอาจเข้ามาปล้นปืนถึงในค่ายอยู่บ้างเล็กน้อย หรือถ้าคิดว่าทำฉากต่อสู้กับโจรก็ยังใช้ตัวประกอบกับงบมากไป ก็อาจจะเปลี่ยนมาเป็นถ่ายฉาก ทิดมากกำลังรับใช้ชาติอย่างแข็งขันอยู่ในกองพันเลี้ยงไก่ก็ได้
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแก้เลี่ยนกับบทหวานอ๊วกที่ผู้สร้างบรรจง เรียงร้อยถักทอ สลักสเหลา นำเสนอมาตั้งแต่ต้นเรื่อง
--------------------------------------------------------
ต่อๆมา: แม่นากตายระหว่างคลอดกลายเป็นผี > พ่อมากกลับบ้านไม่รู้ว่าเมียตาย เลยมาอยู่กับผีแม่นาก มีฉากทิดมากวิ่งสโลว์เข้ามากอดอินาก พร้อมกับด้นสดคำกลอนว่า คิดกถึงยอดหฤทัยใจแทบขาด.....อะไรก็ว่ากันไป -> ชาวบ้าน และผองเพื่อนพยายามบอกความจริง ทิดมากไม่เชื่อ ผีแม่นากก็กำลังตกอยู่ในภะวัง อารมณ์รักครอบงำความจริง อารมณ์เกลียดเหนือเหตุผล จึงทำทุกวิถีทางเพื่อปิดบังไม่ให้ผัวรู้ว่านางตาย เลยออกอาละวาด --> สถานการณ์พาไป.....พ่อมากรู้ความจริงเลยหาทางหนี ---> มีหมอผีมาปราบ ถ้าไม่มีฉากวิ่งป่าราบ แต๋วหลุด กระโดดไปซ่อนในโอ่ง มีฉากตายหยดยอง
--------------------------------------------------------
ต่อๆๆมา - จบ : มีพระมาเจรจากับผีแม่นาก (จะพูดอะไรกันนั้น ก็ไม่มีใครทราบได้) อาจจะมีการต่อรองกันเบาๆว่า ถ้าเองเลือกลงไปอยู่ในหม้อใบนี้ก็จะได้300 แถมด้วยการฟอกขาวล้างมลทิน+ได้ตำแหน่งประชารัก หุบปากอยู่เฉยก็จะมีคนเอาส่วนบุญมาประเคนให้ถึงที่ด้วยนะ (แม่นากก็แอบอุทานเบาๆว่า...อ้า! ดีออก) >>> ตัดไปที่ฉากดราม่าอาทร แม่นากกับผัวน้ำตาใหลพราก ขี้มูกใหลน้ำลายโป่ง ชาวบ้านร่วมเหตุการณ์อ้าปากหวอ สุดท้ายวิญญาณแม่นากลงไปอบผิวอยู่ในหม้อ, ไปนั่งรมควันธูปเทียน สูดกลิ่นดอกคำปู่จู่ (ดาวเรือง) อยู่ที่วัดมหาบุศย์ หรือไปไหนก็แล้วแต่คนจะเขียนบท......จบ.



B. ทำไมถึงเรียก "ตำนานแม่นาก" ทำไมไม่เรียก ชีวประวัติ หรือ เป็นประวัติศาสตร์



1.  เข้าใจความต่างของศัพท์ 2 คำ ก่อนสิ (อธิบายตามความคิดของผม, ส่วนราชบัณฑิตอธิบายไว้ยังไงเข้าไปอ่านจาก Link นี้ครับ)
ตำนาน คือ: เรื่องเล่าสืบต่อกันมา อาจจะเป็นการนำเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงมาปรุงแต่งให้มีสีสรรค์ ถ้าเป็นตำนานแบบไทยๆ สีสรรค์ที่ว่าก็มักจะเป็นเรื่องอภินิหาร ความศักดิ์สิทธิ์ เวทมนต์ เป็นส่วนใหญ่ หรือบางตำนานอาจจะเป็นเรื่องแต่งขึ้นล้วนๆ เหมือนนิทานก็มี แล้วเอาสิ่งที่มีอยู่จริงมาเป็นองค์ประกอบแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เนื้อเรื่องดูเนียนขึ้นนั่นเอง

ประวัติศาสตร์ คือ:
 อธิบายในแบบที่สากลโลกเขายอมรับกัน: ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการตั้งคำถาม และสืบค้นกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต โดยอิงจากหลักฐานที่ค้นพบ และมีการอธิบายถึงความสัมพันธุ์ระหว่างคำถามกับหลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่อิงกับพื้นฐานจากสิ่งที่ใครคนใดอยากจะเชื่อ หรืออิงจากสิ่งที่รัฐปลูกฝังให้เชื่อเพื่อเอื้อต่อความชอบธรรม, ผลประโยชน์, และอำนาจ ให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

2. ในการหาข้อมูลเรื่องแม่นากคุณจะพบกับคำพวกนี้บ่อยๆ... "ว่ากันว่า" "เล่ากันว่า" "เชื่อว่า" "อาจจะ" "น่าจะ"  "ก็ ไม่มีใครทราบได้" และคุณก็จะยังพบกับคำพวกนี้ ในบทความของผมอยู่ดี...!? จุดประสงค์ในการเขียนบทความแม่นากของผมก็คือ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านรู้จักการแตกคำถาม คิดอะไรได้หลายแง่มุมมากกว่า ส่วนเรื่องหาข้อสรุปผู้อ่านก็ต้องคิดกันเอง

3. เรื่องแม่นากที่มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเก่าสุดที่หลายแหล่งข้อมูลเอามาอ้างถึง คือ บทความของ ก.ศ. ร. กุหลาบ ที่เขียนในหนังสือพิมพ์สยามประเภท ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 บอกว่าเรื่องแม่นากน่าจะ มา จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นสมัย ร.3 เอาง่ายๆ ก็คือขนาดนายกุหลาบเขียนมาตั้งปลาย ร.5 ก็ยังใช้คำว่า "น่าจะ" หรือถ้าดูจากปีครองราชของ ร.3 (Timelineข้างล่าง) กว่าที่นายกุหลาบจะเขียนเรื่องแม่นากเวลาก็ผ่านไปแล้วราวๆ 50ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น
และเท่าที่ค้นหาผมยังไม่พบว่ามีเว็บไหนนำภาพบทความต้นฉบับเรื่องแม่นากที่นายกุหลาบ เขียนมาให้ดู เลยไม่รู้ว่าเนื้อหาเต็มๆเขาเขียนอะไรบ้าง บางคนก็ว่าหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ (ท่าวาสุกรี เขตดุสิต)

อ่านมาถีงตรงนี้ผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้ว ว่าทำไมเรื่องราวของแม่นากเรียกว่า "ตำนาน" สิ่งที่มีอยู่จริงในตำนานแม่นากก็มีพวกองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆ เช่น ที่พระโขนงมีวัดมหาบุศย์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตสวนหลวง ซ.อ่อนนุช 7 ถ.สุขุมวิท 77), สมเด็จพุทธจารย์ (โต) เป็นต้น ส่วนเรื่องที่ว่าแม่นากจะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่นั้น ก็เข้าใจได้ว่า ผีแม่นากเป็น "เรื่องเล่า" ของชาวบ้านทั่วไป ดังนั้นจะมาหวังหลักฐานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมันก็ไม่มี

Timeline: ปีครองราช ร.2 - ร.6

> ร.2 : 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
> ร.3 : 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394
> ร.4 : 6 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
> ร.5 : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
> ร.6 : 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
- อำแดง: เป็นคำนำหน้าชื่อหญิงชาวบ้านในสมัยโบราณ เลิกใช้เมื่อสิ้นสมัย ร.5 ในบทความนี้ผู้เขียนจะเรียกว่า "แม่นาก"

  


นอกเรื่อง  ถ้าใครอยากรู้ว่าการผสมผสานระหว่างเรื่องแต่งกับเรื่องจริงที่แนบเนียนๆ มีน้ำหนักมากกว่าตำนาน คุณก็ลองหา หนังสือเกี่ยวกับ "ทฤษฎีสมคบคิด" (Conspiracy Theory) มาอ่านครับ หรือถ้าไม่อะไรมากผมว่าเอา แค่นวนิยายของพวกนักเขียนระดับโลกหลายเรื่องยังจะมีความสมจริงมากกว่าตำนานแบบไทยๆอีก เช่น...

- Icons of Evolution: Science or Myth? (นักเขียน Jonathan Wells): หนังสือก็จะมีเนื้อหาประมาณว่า ไม่จริ๊งไม่จริง!..ที่คนเราจะมีวิวัฒนาการมาจากลิงวอกหัวขน เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่พระผู้สร้างเสกสรรค์ขึ้นมาจากขี้ดินเหนียวแน่นวน.... อย่างมงายในวี๊ดสาด ซีฮ๊ะหลวงแม่ วชีรเทวีท่านเคยสอนไว้...

- The Holy Blood and the Holy Grail (เลือดศักดิ์สิทธิ์ และจอกศักสิทธิ์) ตีพิมพ์ 1982, 1996, 2005, 2006 (นักเขียน Michael Baigent, Richard Leigh, Henry Lincoln) กลุ่มผู้เขียนหนังสือเล่มนี้นำเรื่องราวต่างๆทั้งที่เป็นจริง และที่สร้างขึ้นมาปะติดปะต่อเพื่อสนับสนุนความคิดที่ว่าเยซู เคยแต่งงานกับหญิงที่ชื่อ Mary Magdalene และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นฐานให้แดน บราวน์ (Dan Brown) นำมาเขียนนวนิยายเรื่อง The Da Vinci Code 2003

-  Angels & Demons ปี 2000 (พ.ศ. 2543) มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาคมลับพิทักผู้สืบทอดสายเลือดเยซูที่ชื่อ อิลลูมินาตี (Illuminati) เหตุการในหนังสือเกิดก่อน The Da Vinci Code แต่นำมาสร้างเป็นหนังภายหลัง เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนคงจะได้ดูหนังแล้ว แต่ผมก็ว่าการอ่านหนังสือมันได้อะไรมากกว่าดูหนังนะครับ คนละฟิลกัน  

---------------------------------------------------------------------------

- ก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานนท์) เป็นปัญญาชนคนสำคัญคนหนึ่งครับ ... สำคัญจนถึงขนาดที่ คำขึ้นต้นชื่อของเขา "กุ" ได้กลายความหมายมาเป็น การสร้างเรื่องโกหกจนถึงทุกวันนี้ ส่วนสาเหตุที่ว่า เขากุเรื่องขึ้นมาทำไม, โกหกมาน้อยขนาดไหน หรือมันมีความจำเป็นอะไรต้องกุ หรือว่าเขาแฝงความจริงที่ไม่อาจเผยแพร่ออกมาตรงๆได้ไว้ในเรื่องราวที่เขาเขียน? ถ้าคุณสนใจ ผมแนะนำ 3 ลิงค์ข้างล่างนี้ครับ

- ก.ศ.ร. นำหน้าชื่อ นาย กุหลาบ มาจากคำว่า "เกศ โร" ซึ่งเป็นฉาญานามของเขาตอนที่บวชเป็นพระ





C. จาก "แม่นา" มาเป็น "แม่นา"

ถ้าดู Timeline สื่อแม่นากหน้า 3/3 จะเห็นว่าเดิมทีสื่อต่างๆจะสะกดชื่อแม่นากด้วย ก. ไก่ และเริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้เป็น นาค ค. ควาย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 และนิยมใช้ ค.ควาย มากขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และมีการเปลี่ยนมาใช้ ก. ไก่ (ปะปนกับ ค. ควาย) อีกครั้งหลังปี พ.ศ. 2540,Timeline ที่ว่านี้ผมนำมาจาก th.wikipedia เพียงแหล่งเดียวนะครับ ตัวเลข พ.ศ. เป็นได้แค่คร่าวๆ ทั้งนี้ผมเข้าใจว่าสาเหตุที่มีสื่อบันเทิงแม่นากบางเรื่อง กลับมาใช้ ก.ไก่ อาจเกิดจากมีข้อมูลของแม่นากให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มขึ้น และก็คงมีคนอยากจะเรียกชื่อแบบเดิมเพื่อเป็นเหมือนการ รำลึกถึงรากเง้าความเป็นมาอะไรทำนองนั้น (มั๊ง)...เขียนคร่าวๆ แค่นี้ก่อนเพราะผมจะอธิบายเพิ่มที่ข้อ E. ฆอระฆัง ข้างล่าง

D. ความหมายของคำว่า นาก ก.ไก่ กับ นาค ค. ดวาย


1. นาก:
 ออกเสียง และใช้อักษรสะกดตรงตัวแบบคำไทเดิม มีความหมาย 2 อย่างคือ
1.1 นากที่เป็นโลหะผสม มีส่วนผสมของทองคำกับโลหะอื่นนิยมเอามาทำเป็นเครื่องประดับ แบ่งออกเป็น 3ประเภทคือ Pink Gold, Red Gold, White gold (ทองคำขาว) รายละเอียด เพิ่มเติม
1.2 ตัวนาก สัตว์สี่ขาเลี้ยงลูกด้วยนมที่ชอบอาสัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ราย ละเอียด เพิ่มติม

==============================

2. นาค: เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี หรือถ้าให้ครอบคลุมมากขึ้นก็ต้องบอกว่า เป็นคำที่ใช้ตัวสะกดแบบคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศ มีหลายความหมายดังนี้

2.1 ถ้าอธิบายตามที่มาของคำ หรือภาษาวิชาการไทยเรียกว่า "นิรุกติศาสตร์" (อยากรู้ว่าใครเป็นคนหาคำนิยามให้มันเข้าใจยากๆไปหาหอกอะไร)  "นาค" (Naga) เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป มีรากเดิมมาจากคำว่านอค (Nog) แปลว่าเปลือย, แก้ผ้า แต่ในภาษาตระกูลไทย-ลาว, ภาษามอญ-เขมร รับมาใช้ในความหมายว่า งู, พญางู

2.2 ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า คำเรียกชื่อของเผ่านี้เป็นการเรียกของชาวอารยันที่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งคำว่า "นาค" ในที่นี้มีความหมายไปในเชิงเหยียดคือ อาจจะไม่ได้แปลตรงตัวว่าป็นคนเปลือยเปล่าตามข้อ 2.1 แต่น่าจะหมายถึงชนเผ่าที่ไม่มีอารยธรรม, ไม่ศิวิไล ไม่เริดสะแม็นแต็น เสื้อผ้าไม่ชอบใส่ เดินแกว่งตุ้มไปมาอยู่ไหวๆ อะไรทำนองนั้นมากกว่า

2.3 ใช้เรียกคนที่ทำพิธีก่อนบวชเป็นพระที่สวมชุดสีขาวยาวๆ เหมือนชุดคลุยรับปริญญาของพวกนักศึกษาไทย บ้างก็สวมแว่นดำ บ้างก็แดกเหล้าเมาปลิ้นโก่งคอขันโอ๊กอ๊าก เอามือบรรจงเล้าโลมโถส้วมเสมือนว่ามันเป็นรักแท้เมื่อแรกพบ ก่อนจะลาชีวิตทางโลก แล้วเปลี่ยนไปทำพิธีนุ่งเหลืองห่มเหลืองให้ผู้คนกราบไหว้ กันต่อไป......*พุทธอินเดีย กับในพุทธบัญญัติไม่มีพิธีพิธีบวชนาค,ทำขวัญนาคครับ จะมีก็แต่พุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น รายละเอียดอ่านได้จากบทความนี้ บวชนาคไม่มีในอินเดีย แถมเข้าพรรษาเดิมก็ไม่ใช่ประเพณีพุทธ?
ความหมายอื่นๆก็มี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการนำคำ หรือภาษาไปตีความตามความคิดของใคร ยุคไหนด้วย

2.4 ชาวเขมรโบราณก็มีนิทานเรื่อง พระทอง กับนางนาค ด้วยนะเออวว์
เล่าสั้นๆ: พระทองได้ไปปิ๊งกับลูกสาวพญานาคชื่อ ทาวดี (นางนาค) จากนั้นก็แต่งงานกัน จากนั้นพ่อนางนาค (พญานาค) ก็ได้เนรมิตรเมืองกัมพูชาธิบดีให้ทั้งสองปกครอง...จบ,
นิทานเก่าแก่เรื่องนี้ติดอันดับ Box office ของชาวอุษาคเนย์โบราณมาตั้งแต่ยุคปู่ของปู่ของย่าของยายของยายของทวด...ทวดๆๆๆ...ของยายทวด จนทำให้นางนาคที่ว่านี้ได้รับการอัปเกรดมาเป็นผีบรรพชนของชาวเขมรโบราณ และขยายวงกว้างมาเป็นผียอดฮิตของชาวอุษาคเนย์ในเวลาต่อมา  และทำให้เกิดประเพณี และเพลงร้องที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน......มันก็ดนตรีตะเล็งเต่งเตงชะเอิงเอยนั่นแหละ ใครอยากฟังเพลงนางนาคก็ไปหาใน youtube, ชาวไทรับมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่นางนาคของอยุธยาเพี้ยนมาเป็นแม่ หยัว (แม่อยู่หัว ซึ่งเป็นตำแหน่งหนึ่ง).... รายละเอียดเยอะมากใครสนใจอ่านได้จาก 2 เว็บนี้ครับ.

E. ถ้าตั้งคำถามว่า...


รู้จักความหมายของคำว่า "นาก" กับ "นาค"  กันหลายแง่มุมแล้ว, คราวนี้มาลองหัดเป็นคนขี้สงสัยกันดีกว่า... ถ้าคุณเชื่อว่าแม่นากเป็นเรื่องจริง ก็ให้คิดซะว่าคุณกำลังสวมวิญญาณนักเดาใจพ่อกับแม่ของ ด.ญ. นาก, แต่ถ้าใครคิดว่าแม่นากเป็นเรื่องแต่ง ก็ให้สวมวิญาณนักเดาใจคนโบราณที่ต่งเรื่องแม่นากก็ได้ คำถามมีอยู่ว่า.....
มีความเป็นไปได้มาก/น้อยแค่ไหนที่
?


ก๋อไก่: ด.ญ.นาก เป็นลูกสาวชาวบ้านอาศัยอยู่ใกล้คลองพระโขนง เป็นไปได้หรือไม่ว่าพ่อกับแม่ อยากจะตั้งชื่อลูกของตัวเองให้ดูน่ารักน่าเอนดู แถมยังเป็นสัตว์ที่ฉลาดแสนรู้เหมือนกับ "ตัวนาก" ที่อาจจะอาศัยอยู่ริมครองแถวๆนั้น หรือ..

ข.ไข่: ขุนศรี & เมืย ตั้งชื่อลูกตัวเองว่า "นาก" เพราะอยากเปรียบลูกสาวตัวน้อยว่ามีค่างดงาม เหมือนกับเครื่องประดับที่ทำจากนาก (โลหะผสม) หรือ...

ฃ: พ่อกับแม่ของ ด.ญ.นาค สมัยนั้นอยากจะตั้งชื่อลูกสาวสุดเลิฟว่า "นาค" เพราะหวังว่า ถ้าโตขึ้นลูกสาวจะได้เป็นเมียงู หรือมีฤทธิ์เหมือนพญานาค หรือ...

ค: พ่อแม่ของ ด.ญ.นาค มีปมหวังว่าจะได้ลูกชายมากกว่า (สมัยนั้นไม่มี Ultrasound) โป๊ะเชะ!.วรั๊ย!...แทนที่จะได้สากกระเบือ แต่ดันออกมาเป็นครกซะงั้น (เป็นผู้หญิง) ดังนั้นจึงตั้งชื่อลูกสาวเอาเคล็ดว่า "นาค" เพราะหวังไว้วา เมื่อลูกโตขึ้นจะได้บวชนาคเป็นพระ (ภิกษุณีก็ยังดี) พ่อแม่ก็จะได้เกาะชายผ้าเหลือง ได้อิ่มบุญอิ่มกุศลผิวพรรณเปล่งปลั่งไปถึงชาติหน้า หรือ....

ฅ: พ่อกับแม่ของ ด.ญ.นาคชอบนางเอกในนิทานเรื่อง "พระทอง กับนางนาค" ก็เลยตั้งชื่อลูกว่า "นาค"
<<============--------------------============>>

ฆอระฆัง:  ไม่ถึงกับเฉลย หรือฟันธง เพราะถึงผมไม่ตั้งคำถามอะไรเลยคุณก็รู้มาตั้งแต่ข้อ C. แล้วว่าเดิมทีแม่นากมีชื่อเป็น ก.ไก่........แต่ถ้าสงสัยต่อว่า ชื่อนาก ก.ไก่ ที่ว่านี้น่าจะหมายถึงตัวนากสี่ขา หรือนากที่ใช้ทำเครื่องประดับ เรื่องนี้เราก็พอจะคาดเดาได้จากสื่อบันเทิงสาธารณะเรื่องแรกที่เป็นละครเวทีเรื่อง อีนากพระโขนง ของกรมพระนราธิปฯ ท่านเรียกชื่อผีนางเอกของเรื่องนี้ว่า "ทองนาก" ซึ่งก็หมายถึง นากที่เป็นเครื่องประดับนั่นเอง,  ถ้าสงสัยต่อไปอีกว่า แล้วถ้าถอยไปก่อนที่จะมาเป็นละครเวที ตอนที่ผีแม่นากยังเป็นเรื่องเล่าของชาวบ้านอยู่หละ ผู้คนสมัยนั้นน่าจะคิดว่าชื่อของแม่นากหมายถึงอะไร? นากสี่ขา หรือนากโลหะผสม? คำตอบของผมก็คือ...ไม่รู้ครับไว้รอให้โดเรม่อนมาแถวนี้ก่อนจะขอยืม Time machine กลับไปถามให้..................... แล้วถ้าเกิดตั้ง ข้อสงสัยอีกว่า......>>>>

ทำไมคนรุ่นหลังถึงได้เปลี่ยนชื่อแม่นา เป็นแม่นา?

สาเหตุมันก็มาจากการได้รับการปลูกฝังผ่านทางวัฒนธรรม ความเชื่อ และระบบการศึกษา ที่ว่า ชื่อ, คำ, ภาษา ที่มีรากศัพท์มาจากคำไทเดิม (ภาษาตระกูลไท-ลาว บางทีเรียก ไทกะได) คำที่มาจากภาษาท้องถิ่น คำเหล่านี้มันดูบ้านนอก เป็นภาษาไม่มีระดับ เชย ฟังดูแล้วไม่เพราะไม่ขลัง บางคำกลายมาเป็นคำหยาบก็ว่ากันไป, ถ้าจะให้เสนาะหูฟังดูศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องใช้ภาษาที่มีรากเหง้ามาจาก ภาษาบาลี หรือจะให้ดีกว่าก็ต้องภาษาสันสกฤษ (ถ้าเป็นยุคโบราณก็จะมีภาษาเขมรด้วย ปัจจุบันไม่นิยม) จะเห็นตัวอย่างได้ทั่วไปในภาษาสื่อสารที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะภาษาทางการ และเน้นมากในกรณีการตั้งชื่อ นามสกุลของคน และยิ่งต้องเน้นมากๆ "เป็นพิเศษ" ในกรณีการตั้งชื่ออะไรก็ตามที่คนไทยยกให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือ ต้องเน้นชื่อที่สื่อไปในทาง "ใหญ่ๆยาวๆ" สะกดยากๆ เข้าใจยากๆเข้าไว้
เข่น.......มีการเติม_ั_์ญอภิมาหา มหึมาอสงขัยมโหฬารอัครบรมอัณฑะ อุรุโอฬารธุิ์รโหฐานฒ๐ฦฤฐฃฆฅํรรณ์.....รัวววลิ้นเยอะๆให้น้ำลายเยิ้มออกมาเลอะ ริมฝีปาก แบบนี้แหละถึงจะเรียกว่าสุดยอด
 และถ้าจะให้เข้มขลัง สูงส่งจนแทบจะลอยไปแตะก้อนขี้เมฆ ก็ต้องตั้งชื่อให้ เหมือน หรือโยงเข้ากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคยเป็นเซเลบโด่งดังอยู่แล้วจากอดีต ....ในกรณีของการเปลี่ยนชื่อแม่นากมา เป็นแม่นาค กับการเปลี่ยนชื่อวัดมหาบุศย์ก็อยู่ในขอบข่ายที่ผมเขียนในหัวข้อนี้.....ไม่แน่นะอีก หน่อยอาจมีคนอยากเปลี่ยนชื่อมาเป็น แม่นาคราชินฺํพควาริฦฆํฑร์ฯ...อะไรก็ได้

*
ย่อหน้านี้ขออนุณาติใช้ภาษาบ้านๆที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย "เป็นพิเศษ" (อีกละ) ผู้อ่านจะได้เข้าใจให้ตรงกัน
คือ บางครั้งผมอดคิดไม่ได้ว่า การปลูกฝังค่านิยมการใช้ภาษาในลักษณะนี้มันเหมือนกับการส่งเสริมให้คนไทย "ลืมตีน",ลืมกำพืด ลืมรากเหง้า ดูถูกบรรพชนของตัวเอง, จากนั้นก็มีการจงใจส่งส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมเป็นพวกเห่อหมอยแขก โดยเฉพาะภาษาแขกจากอดีตชาติที่อณาจักรล่มสลายไปเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว.....เอาแค่นีก่อน ด่ามากๆไม่ดี เดี๋ยวจะภาพลักษณ์คนดีๆอย่างเราจะเสียหาย





การรับรู้เรื่องผีแม่นาก กับคนที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละยุคเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ผีแม่นากไม่ได้มีจุดเริ่มต้นแบบเดินสโลว์ออกมาจากปุยหมอกท่ามกลางแสง จันทร์นวลผ่อง ผมยาวพริ้วลม แก้มอมชมพูสวยปิ๊ง ใส่ขนตาปลอมงอนจนแทบจะไปแตะหน้าผาก แล้วอยู่ๆผู้คนก็อุทาน โอวว์!..นี่แหละคนที่ใช่  น่าใหลหลงศรัทธา จากนั้นหนุ่มสาวก็พากันต้มไข่ อุ้มปูนปั้นยีราฟม้าลาย หิ้วน้ำแดงขนมชั้นไปติดสินบนเพื่อแลกกับการขอพรเป็นตุเป็นตะ ให้ความรักสมหวังอะไรในแบบที่ผู้คนสมัยนี้คุ้นเคยกันมาตั้งแต่ต้น
ก่อนที่ผีแม่นากจะอัปเกรดขึ้นมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แถมยังมีรุ่น Extended ออกมาจนนับไม่หวาดไม่ไหว มันก็ต้องมีเหล่านักพัฒนาจากค่ายต่างๆ เอาไปต่อยอดกันหลายชั่วอายุคน.?!!!...โทษทีลืมตัวคิดว่ากำลังเขียนรีวิวโปรแกรม แม่นาก.exe ซะอีก

1. สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับแม่นากฉบับแรก

คงหนีไม่พ้นบทความของคุณกุหลาบที่เขียน ในหนังสือพิมพ์สยามประเภท ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 (1899) ที่หลายคนเอามาอ้างนั่นแหละครับ ในบทความก็พอจะสรุป บุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้ตามนี้
พ่อของแม่นากคือ ขุนศรี เป็นนายอำเภอมีบ้านอยู่ปากครองพระโขนง
แม่ของแม่นากเป็นใคร? ไม่รู้ว่าในบทความของนายกุหลาบ เขียนไว้หรือเปล่า และเท่าที่ค้นหา (ตามเว็บ) ผมยังไม่พบ แหล่งข้อมูลไหนบอกไว้ คงไม่มีใครประสาทแดกไปคิดว่าขุนศรีแกเอานิ้วแหย่เข้าไปในรูปปูข้างครองพระโขนงแล้ว เกิดมาเป็นแม่นากนะครับ
ผัวแม่นาก: ชื่อ "นายชุ่ม" มีอาชีพเป็นนักแสดงโขนตัวทศกัณฐ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (จ้าวฟ้าจุ้ย)
- ก่อนที่แม่นากจะตั้งท้องแล้วตายทั้งกลมก็มีลูกอยู่แล้วชื่อ "นาย แบน" (*เรื่องที่ว่าแม่ นากมีลูกชาย ชื่อ "นายแบน" ผมนำข้อมูลมาจาก บทความของเอนก นาวิกมูล)
หลังจากที่แม่นากตายลูกของแม่นากก็ได้คิดแผนให้คนไปขว้างปาผู้ที่ ผ่านไปมาแถวคลองพระโขนง ใกล้ป่าช้าที่ฝังศพแม่นาก เที่ยวหลอกชาวบ้านว่าเป็นผีแม่นากเฮี้ยน ทั้งนี้ก็เพราะหวงสมบัติ ไม่อยากให้พ่อ (นายชุ่ม) ไปมีเมียใหม่

คำถาม
ในบทความของนายกุหลาบ บุคคลที่รู้ชัวร์ๆว่ามีตัวตนอยู่จริงก็คือ "เจ้าฟ้าจุ้ย" มีชีวิตอยู่ในสมัย ร.2 ตายเมี่อ พ.ศ. 2365 (1822, ก่อนร.3ครองราช 2ปี) นายกุหลาบคาดการณ์ว่าเรื่องแม่นาก "น่าจะ" เกิดขึ้นยุค ร.3...ผมสงสัยว่า

- ตอนที่แม่นากตาย นายชุ่มน่าจะอายุเท่าไหร่? แม่นากน่าจะตั้งท้องเมื่ออายุเท่าไหร่?
- ผมสงสัยว่า นายกุหลาบเอาแหล่งข้อมูลจากไหนมาสนับสนุนการคาดคะเนเรื่องแม่นาก
- ส่วนตัว ผมไม่ถึงขนาดปิดประตูฟันธงโป๊ะเชะไปทางเดียวว่า แม่นากเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ แต่มันก็ไม่มีหลักฐานใดที่เป็นตัวยืนยันได้ชัดๆว่า "นายชุ่ม" ที่ว่านี้มีตัวตนอยู่จริงและมีเมียชื่อนาก จะมีก็แต่เรื่องเล่าที่เอาชื่อคนดังมาอ้างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแบบไทยๆ ซึ่งส่วนตัวผมมองว่ามันตื้นเกินไปถ้าจะเชืออะไรง่ายๆแบบนั้น

สำคัญ: ถ้าใครรู้ว่า ก.ศ.ร. กุหลาบว่าเขาเป็นนักเขียนแบบไหน ก็ต้องยอมรับเป็นขั้นพื้นฐานได้ว่าควรต้องใช้การวิเคราะห์ แยกแยะกับสิ่งที่เขาเขียนมากกว่าปกติ เพราะถ้าจะมีคนบอกว่าเชื่อเรื่องผืแม่นากเป็นเรื่องจริงแน่ๆเพราะ ขนาดนายกุหลาบยังบอกว่า "น่าจะ" เป็นเรื่องจริง ผมก็อยากจะถามต่อว่า ถ้านายกุหลาบเขาเขียนเรื่องที่ไม่สนับสนุนความเชื่อของคุณ (ไม่โดนจริตว่างั้นเถอะ) แล้วคุณยังจะเชื่อเขาโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดอีกหรือเปล่า?


2. ผีแม่นากกลายเป็นนิทานครั้งแรก (นิทานทองอิน ตอน นาก พระโขนงที่สอง)


พ.ศ. 2447 (1904) ยุคปลาย ร.5 หลังจากบทความของ นายกุหลาบเผยแพร่ออกไปแล้ว 5 ปี
ตอนที่ ร.6 ยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ท่านได้แต่งนิทานแนวสืบสวนสอบสวนชื่อ "นิทานทองอิน" ซึ่งแบ่งออกเป็น 2ชุด ถ้าเอามาทำเป็นหนังสือก็เรียกว่ามี 2เล่ม ในแต่ละชุดจะแยกออกเป็นตอน, นาก พระโขนงที่สอง จะอยู่ในชุด ที่ 1. ตอนที่ 1. ใครสนใจก็เข้าไปอ่านได้ใน เว็บห้องสุดวชิรญาณ ลิงค์นี้ครับ

-  "นาก พระโขนงที่สอง" ที่ ร. 6 เขียนจะเป็นการนำเอาบทความแม่นาก ของนายกุหลาบ ที่เคยเขียนไว้มาเป็นเค้าโครงของเรื่อง

- ในนิทานสมมุติว่าผีนางนาคเคยเป็นเมียของ กำนัน พันโชติ ก่อนตายก็มีลูกด้วยกันอยู่แล้ว 2คน คือ "นาย ชม"อายุ ประมาณ 15-16 คนน้องชื่อ"นายชืน"อายุอ่อนกว่าพีชายประมาณ2ปี

- ข่าวลือเรื่องผีนางนากอาละวาดที่บางพระโขนงว่าเป็นผีจริงหรือผีปลอม เป็นเพียงเหตุการณ์ที่นายทองอินกับคู่หูไปสืบหาความจริง หลังจากที่นางนากได้ตายไปแล้ว 2-3ปี และต้องย้ำนะครับว่า ร.6 เขียน "นิทาน ทองอิน" ดังนั้นเรื่องที่ว่าแม่นากเป็นลูกใครเหล่าเต้า อะไรทำนองนั้นจึงไม่มี เพราะไม่เกี่ยวกับกับเนื้อหา บทสวีทหวานแหววก่อนตายของอำแดงนากกับผัวเลิฟก็ไม่มี ศูนกลางในการเดินเรื่องก็ต้องเป็น นักสืบทองอินกับ นายวัดคู่หู นั่นเอง

- ในนิทานมีการใช้คำว่า "ปิศาจ" อยู่หลายครั้ง ผมเข้าใจว่าคงเขียนไปตามการออกเสียงของคนสมัยนั้นครับ ไม่ได้เขียนเป็น ปอ_สระอี_ปีศาจ แบบในปัจจุบัน
วิเคราะห์
- ผมคิดว่า ร.6 ตั้งใจให้คนอ่านเข้าใจว่า "มันเป็นนิทาน" เพราะถึงแม้ว่าจะมีโครงเรื่องมาจากบทความของนายกุหลาบ แต่ทุกคนที่อยู่ในนิทานเรื่องนี้จะเป็นตัวละครสมมุติทั้งหมด รวมไปถึงการกล่่าวถึงผีนางนาก ร.6 เขียนแค่ว่านางตาย, ไม่ได้เขียนว่าตายทั้งกลม หรือเป็นอะไรตาย เพราะฉะนั้นคนอ่านก็มีสิทธิจะตีความได้ว่าเป็นนิทานที่แต่งมาจากเรื่องผีนางนากที่ โด่งดัง หรือเป็นผีนางนากคนละตัวก็ได้ , ในนิทาน "นาก พระโขนงที่สอง" เป็นเพียงสถานการณ์หนึ่งที่ นายทองอิน กับนายวัด เข้าไปสืบหลังจากที่นางไปตายแล้ว เท่านั้นเอง

- ในยุคนั้นเรื่องของแม่นากที่ผู้คนรู้จักจะเป็นแนวสยอง ผีเฮี้ยน เพราะยังไม่มีใครนำมาเล่าเป็นสื่อบันเทิง แล้วใส่เนื้อหาดราม่า สวีทหวานแหวว และยังโด่งดังในวงสังคมบางกอก, การเล่าแบบปากต่อปากผมให้กว้างสุด ก็รวมไปถึงปริมณฑลละกัน เพราะยุคโบราณการกระจายข้อมูลข่าวสารไม่ได้ง่าย และไวแบบปัจจุบัน ถึงจะมีบทความของนายกุหลาบ+นิทานทองอินออกมาแล้ว ก็ใช่ว่าจะทุกคนรู้เรื่องและสนใจกันทั้งประเทศ การกระจายสิ่งพิมพ์ก็ทำได้จำกัด คนที่อ่านหนังสือออกก็มีน้อย คนที่สนใจอ่านหนังสือ และมีความต้องการหาหนังสือมาอ่านก็ยิ่งมีน้อยเข้าไปกันใหญ่


นิทานทองอิน

- นิทานทองอิน ได้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือทวีปัญญารายเดือน ตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2447 ถือเป็นนิยายสืบสวนสอบสวนเรื่องแรกของไทย

- ในการเขียนนิทานทองอิน ร.6 ใช้นามปากกาว่า นายแก้ว นายขวัญ, นิทานเรื่องนี้เป็นการดัดแปลงนวนิยาย เชอร์ลอก โฮล์ม ของ Arthur Ignatius Conan Doyle ที่เผยแพร่ครั้งแรกปี ค.ศ. 1887(2430) ก่อนนิทานทองอิน 17 ปี มาปรับเปลี่ยนให้ตัวละคร และเหตุการณ์ของเรื่องเป็นแบบ....ขอใช้คำว่า ชาวสยาม และสังคมสยามจะถูกกว่า เพราะตอนนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นประเทศไทย

- อธิบายให้มองเห็นภาพ คุณลองหลับตานึกเปลี่ยนนักสืบโฮล์ม ให้เป็น "นักสืบทองอิน", เปลี่ยนหมอวาตสัน (Dr. John H. Watson) ให้เป็น "นายวัด", เปลี่ยนเหตุการณ์ที่เกิดในยุโรปมาเป็น "สังคมสยาม", ส่วนบุคลิกของ โฮล์ม ไม่ว่าจะเป็นความฉลาด การสืบค้นตามหลักของเหตุผล หรือความสามารถปลอมตัวของโฮล์ม ก็มีอยู่ในตัวของนายทองอินเช่นกัน

* วรรณกรรมยุค ร.5-6

ยุค ร. 5 ชนชั้นปกครองพยายามจะเปลี่ยนสังคมไทยให้ทัดเทียมกับชาติตะวันตก ฉะนั้นอะไรที่เป็นแนวตะวันตกก็มักจะได้รับความนิยมนำมาทำตามเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำเอง, ทางด้านวรรณกรรมก็มีการแปลนวนิยายตะวันตกมาเป็นนวนิยายไทยด้วย เช่น ปี พ.ศ.  2443 ,ก่อนนิทานทองอิน 4ปี, พระยา สุรินทราชา ใช้านามปากกา "แม่วัน" ได้แปล (และแปลงบางส่วน) นวนิยายเรื่อง "Vendetta" ของ Marie Corelli และใช้ชื่อภาษาไทยตามความหมายภาษาอังกฤษว่า "ความพยาบาท"

3. เรื่องแม่นาก ถูกดัดแปลงเป็นละครเวทีครั้งแรก


พ.ศ. 2454 (1911) หลังจากที่ ร.6 เขียนนิทานทองอิน 6 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (ลูก ร.4 ตายยุค ร.7) ได้นำเรื่องเล่าผีแม่นากมาดัดแปลงเป็นละครร้องเรื่อง "อีนาก พระโขนง" ผมไม่อยากเสียเวลาค้นว่าละครร้องที่ว่ามันเป็นยังไง จะเหมือนละครเพลงที่มีบทสนทนาสลับกับการร้องเพลง หรือว่าร้องออกมาเป็นคำกลอนโต้ตอบกันตลอดทั้งเรื่องหรือเปล่า แต่ชั่งเหอะไม่ใช่ประเด็นเอาเป็นว่า อีนาก พระโขนง ของกรมพระนราทิปฯ เป็นละคเวทีละกัน


ภาพรวมของละครเวที  อีนาก พระโขนง

คุนสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลฉบับเต็มได้จาก 3 ลิงค์ข้างล่างนี้ครับ แต่ในที่นี้ขอเขียนสรุปให้พอเข้าใจก็พอ

- ละครอีนาก พระโขนง ของกรมพระนราธิป เป็นละครแนวตลก, มีการสร้างตัวละครสมมุติขึ้นมา 10 คน (ใครบ้างแต่ละคนมีบุคลิกอย่างไรอ่านที่ ลิง2.ข้างบน) หนึ่งในนั้นก็คือ มีการสมมุติว่านางนากเป็นเมียของ "นายมากซึ่งก็นับได้ ว่าเป็นจัดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนจดจำว่า แม่นากเป็นเมียของทิดมากมาจนถึงปัจจุบัน และในละครเรื่องนี้ก็เป็นนายมากนี่แหละที่เป็นศูนย์กลางในการเดินเรื่อง ตัวรองก็เป็นนายทุ้ยทีเป็นเพื่อนของนายมากอีกที

- ละครเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากคนดูเป็นอย่างมาก จึงมีการจัดแสดงถึง 24 คืน

- บทของอีนากยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางของเรื่อง แต่ก็ต้องนับว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการแต่งเรื่องราวแม่นากที่รวมเอาช่วงเวลาที่ นางยังมีชีวิตไปจนกลายเป็นผี และเป็นจุดเริ่มต้นที่คนดูได้เห็นภาพบุคลิกของตัวอีนากไปตามที่คนแต่งได้กำหนด ไว้....นางเป็นคนสวยสะแม็นแต็นแบบไหน นิสัยใจคอดีร้ายยังไง คนดูรับรู้ และอินไปกับละครได้โดยไม่ต้องใช้จินตนาการ เหมือนกับการได้ฟังข่าวลือแบบปากต่อปาก หรือการอ่านหนังสือแบบดั้งเดิม


วิเคราะห์

>. ถ้าเริ่มนับจากบทความของนายกุหลาบ..>>. มาจนถึงเรื่องผีแม่นากเริ่มกลายมาเป็นสื่อบันเทิง โดยเริ่มจากจุดเล็กๆที่เป็นสถานการณ์หนึ่งในนิทานทองอิน...>>>.. จนถึงถูกดัดแปลงมาเป็นละครเวทีครั้งแรก มีอยู่เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ มาถึงตรงนี้ ได้มีการเปลี่ยนผัวใหม่จากนายชุ่มให้แม่นากมาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว และผัวทั้ง 2 ที่ว่าก็มีการเปลี่ยนอาชีพให้ห่างออกมาจากแวดวงของชาววัง และเครือข่ายของราชการมาเป็นสามัญชนมากขึ้น

ขวา: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
 ซ้าย: พระองค์เจ้าวัลภาเทวี (ลูกสาว, อดีตคู่หมั้น ร.6)

เปลี่ยนชื่อมาเป็น นายมาก...?

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งก็เพื่อให้คำมันดูคล้องจองได้ง่ายเวลานำมาแต่งเป็นบทละครร้อง และมันทำให้คนดูจดจำได้ง่ายขึ้นด้วย

เปลี่ยนอาชีพ...?
- ในเรื่องของการเปลี่ยนอาชีพตัวละครนั้นส่วนหนึ่งก็ "น่าจะ" เพื่อให้สามารถเล่นกับบท ได้มากขึ้นก็เป็นได้ เพราะละครเพลง อี นาก พระโขนง เรื่องนี้เป็นละครแนวตลก
- ถ้าจะเอาเป็นนายชุ่ม อาชีพคนเล่นโขน ตามนายกุหลาบ ก็ดูท่าจะไม่เวิร์ค เพราะตั้งแต่ไหนแต่ไร เขาก็ถือว่าโขนเป็นการแสดงของคนชั้นสูงในรั้วในวังอะไรทำนองนั้น ถ้าจะแต่งละครให้นายชุ่มทศกัณฑ์มาแสดงบทวี๊ดว๊าย! กระตู้ฮู้!...ให้คนดูในวงกว้าง เขาก็อาจจะคิดว่าไม่เหมาะไม่งามก็ได้ ภาพลักษณ์ของทศกัณฑ์ผู้ยิ่งใหญ่ก็จะพลอยลดความเข้มขลัง ภาพพจน์อันสูงส่งของโขนก็พลอยจะกระทบกระเทือนไปด้วย (ต้องแสดงบทกระโตกกระตาก ชวนอีนากเซียลฟี่, ขี่โกลคาส, แคะขนมครก ฯลฯ  กริยาเยี่ยงนี้มิควรที่จะมาสวมหัวโขนศักดิ์สิทธิ์...อะไรเยี่ยงนั้น.)
- หรือ ไอ้ครั้นจะเอาเป็นกำนันพันโชติตาม ร.6 ก็ดูจะเป็นคนละเรื่อง อีกอย่างจะเอาคนเป็นกำนันมาเต้นแร้งเต้นกา ทำท่าแต๋วหลุด กระโดดมุดลงโอ่ง เวลาเจอผีก็ดูจะเวิร์คอีก ดังนั้นก็เลยเปลี่ยนผัวใหม่ให้อีนากมาเป็น "ทิดมากทะหารเกณฑ์แทน ทีนี้ก็สามารถเขียนบทให้เล่นบ้าบอคอแตกอะไรก็ได้

- หรือ ถ้าผมจะมองว่า การสร้างตัวละครทิดมากให้เป็นทะหารเกณฑ์ ก็เพื่อเปิดช่องทางในการส่งเสริม และกระจายข่าวเรื่อง พรบ. การเกณฑ์ทะหารที่ได้ประกาศใช้ก่อนหน้าที่ละครเรื่องนี้จะสร้าง 6 ปี ก็ได้ เพราะการแผงชุดความคิดอะไรบางอย่างไว้ในสื่อ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ.....แล้วมันมีความคิดอะไรที่แฝงอยู่ในตัวละครของพลทะหารทิดมาก ที่ต้องการจะสื่อสารมาถึงคนดู? คำตอบก็ง่ายมาก ก็แฝงหน้าที่ของพลเมืองอันใหม่ ที่รัฐส่วนกลางได้สร้างขึ้น (โดยใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับใช้) ให้กระจายไปถึงผู้คนว่า.....ชายไทยที่มีอายุ...พวกสูต้องมีหน้าที่ไปเกณฑ์ทะหาร รับใช้ชาติแบบเดียวกับอ้ายมากพระเอกในละครนะ...ส่วนใครจะไปอยู่กองพล ซัก ผ้า หน่วยปฏิบัติการมัดหมาตากแดดอะไรก็สุดแล้วแต่เวร แต่กรรม

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับละครอีนากของ กรมระนราธิปฯได้จากลิงค์นี้ครับ

 ร.5 ประกาศ พรบ. ลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ศก 124 ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2448 (1905) ซึ่งก็เป็นปีเดียวกันกับ พรบ. เลิกทาส, อันที่จริงควรเรียกว่า พรบ.ยกเลิกระบบศักดินา หรือ พรบ. เลิกไพร่ถึงจะถูก แต่ทำไมถึงใช้คำว่าเลิกทาสหละครับ? ไม่มีใครสงสัยกันเลยรึ?

ปั้นเหน่งคือ: เครื่องประดับที่ใช้คาดเอว ส่วนใหญ่ก็เพื่อความสวยงาม เป็นครื่องประดับ ต่างจากเข็มขัดตรงที่ เข็มขัดถูก สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานเป็นจุดประสงค์หลัก ส่วนจะสวยงามเป็นเครื่องประดับด้วยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องรองลงมา

Timeline สมเด็จโต (มีอายุอยู่ในช่วง กลาง ร.1 - ต้น ร.5)
- เกิด 17 เมย. พ.ศ. 2331 (ค.ศ.1788)
- บวชเณร  2343 (1800)  เมื่ออายุ 12 ปี
- บวชพระ  2351 (1808)  เมื่ออายุ 20ปี, (รวม 64 พรรษา)
- ตาย 22 มิถุนายน  2415 (1872), รวมอายุ 84 ปี

"ว่ากันว่า" สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ท่านได้ตอกกระโหลกหน้าผากแม่นากแล้วนำมาขัดลงยันต์สะกด วิญญาณ จากนั้นทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว....ต่อมาท่านก็ได้มอบให้กับ...คนนี้... สืบต่อไปให้กับคนนั้น คนโน้น คนโน้นๆๆๆๆ >>> "ก็ไม่มีใครทราบได้" ...>>> ปัจจุบัน "ว่ากันว่า" อยู่ในการครอบครองของนักสะสมท่านหนึ่ง?
เรื่องนี้มีความเป็นไปได้แค่ไหน?....ถ้าเทียบจากเรื่องพื้นๆอย่าง Timeline ของสมเด็จโต กับเรื่องผีแม่นาก ก็เรียกได้ว่ามีความสัมพันธ์กันอยู่ แต่ถ้าผมจะตั้งคำถามว่า

> ถ้าพระท่านทำอย่างนั้นจริง ก็เท่ากับท่านต้องได้แตะเนื้อต้องตัวผีผู้หญิง ได้ประดิฐเครื่องรางของขลัง แถมยังพกติดตัวอีกต่างหาก แบบนี้ผิดศีล หรือวินัยสงค์ข้อไหนหรือเปล่า?...อวดอุตริทง อุตริธรรม?
> หรือถ้าจะมองจากความจริงที่เห็นๆกันอยู่ว่า ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบันว่า พระ ไสย ผีสางนางหนวก เทวดา ก็อยู่คู่กับความเชื่อของคนไทมาตั้งแต่ไหนแต่ไร จวบจนทุกวันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยก็แยกแยะระหว่างความจริงกับความเชื่อไม่ออกจนกลาย เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว....ถ้าเป็นแบบนี้เราก็ควรจะเรียกว่าศาสนา พุทธ นิกายไทย, พุทธ v. Thai adaptation ถึงจะถูกสิ ไม่ใช่พุทธ อเทวนิยม แบบต้นฉบับอินเดีย

เขียนแซะเล่นให้ระคายความรู้สึกไปงั้นแหละ เพราะโดยส่วนตัวผมมองว่าเรื่องนี้ เป็นการแต่งเติมในภายหลัง ประมาณว่าเอาคนดังมาโหนคนดังเพื่อให้เรื่องเด่นดัง ก็แค่นั้น เพราะก่อนหน้าที่จะมีเรื่องเล่าสมเด็จโตปราบผีแม่นาก ก็มีเรื่องเล่าว่ามีเณรที่มาจากทางเหนือเป็นคนปราบอยู่ก่อนแล้ว แต่หลังจากที่เวอร์ชั่นสมเด็จโต โด่งดังขึ้นแท่นอันดับ 1. ใน Box Office ไปแล้ว เวอร์ชั่นอินดี้ ที่มีนักแสดงโนเนม อย่างเณรจากทางเหนือก็เลือนหายไป
 การเอาคนมีชื่อเสียงมาประกอบ กับเรื่องเล่าแม่นากก็เพื่อให้เรื่องราวดูน่าเชื่อถือนั่นเอง ความจริงมันก็ไม่ใช่วิธีการแปลกใหม่อะไร ผมยกตัวอย่างอื่นๆให้มองเห็นภาพก็ได้

- ที่มาของแยกมาหานาค (เขตดุสิต) ก็ "ว่ากันว่า" ร.4 เคยออกมายืนอยู่แถวนี้ เพื่อดูผีแม่นากที่ขายตัวสูงใหญ่กำลังอาละวาด หลังจากนั้นผู้คนก็เลยเรียกบริเวณนี้ว่า "แยกมหานาค".....น่าน! เห็นมั๊ย เอาคนดังมาโหนตามสูตรสำเร็จอีกตามเคย สงสัยผีแม่นากคงต้องแปลงร่างให้สูงใหญ่กว่าตึกใบหยกมั๊ง ถึงจะมองเห็น เพราะจากแยกมหานาค กับบางพระโขนง ก็ห่างกัน 10 กว่ากิโลเมตรได้มั๊ง แถมสมัยนั้นต้นไม้ใหญ่ๆก็น่าจะมีบังตาเยอะอยู่

- ถ้าเป็นหนังฮอลิวูดก็อย่างเช่นหนัง Abraham Lincoln Vampire Hunter 2012 ผมไม่คิดว่าจะมีคนสติดีคนไหนเชื่อตามหนังนะครับว่า เมื่อราวๆปี ค.ศ.พันแปดร้อยต้นๆ เคยมีผีดิบอาละวาด ในอเมริกา แล้วประธานาธิบดีลินคอล์นเป็นฮีโร่ถือขวานอันเขื่องๆ ออกมาไล่ฟันคอผีดิบจนเลือดท่วมจออย่างนั้น


H. จากวัดสามบุตร เปลี่ยนเป็น > วัดมหาบุตร และเปลี่ยนเป็น > วัดมหาบุศย์


- เท่าที่ค้นหาข้อมูลส่วนใหญ่จะบอกว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ.2305 ได้มีลูกชายชาวบ้าน สามพี่น้องได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาดังนั้นวัดนี้จึงมี ชื่อว่า "วัดสามบุตร"

- ต่อมาพระมหาบุตรจากวัดเลียบ (เปลี่ยนชื่อเป็น วัดราชบุรณะ ในสมัย ร.1) ได้ไปเยี่ยมญาติโยมในระแวกนั้น ชาวบ้านพระโขนงจึงขอให้ท่านอยู่วัดสามบุตร เพื่อช่วยเป็นผู้นำในการบูรณะวัด หรือบางคนก็ว่าสร้างวัดใหม่ทั้งวัดก็น่าจะได้ เมื่อบูรณะเสร็จชาวบ้านจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดมหาบุตร" ตามชื่อของท่าน

- เวลาผ่านไปก็มีการเปลี่ยนชื่อวัดอีกเป็น "วัดมหาบุศย์" ตั้งแต่เมื่อไหร่อันนี้ใครสนใจคงต้องไปค้นหากันเอง

*Note
- สาเหตุที่มีผู้คนเรียกวัดมหาบุศย์อีกชื่อเป็น วัดแม่นา ก็เพราะวัดนี้เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวของแม่นากที่เล่าต่อๆกันมา
- ผมสงสัยว่าเคยมีคนคิดอยากจะให้เปลี่ยนชื่อวัดกลับไปเป็น วัดสามบุตร เหมือนเดิมเพื่อเป็นการให้เกียร์ติ หรือรำลึกถึงผู้สร้างดั้งเดิมหรือเปล่า? คล้ายๆกับที่ผู้คนในปัจจุบันก็มักจะมีการให้เกียร์ติ์กับ ผู้ริเริ่ม ผู้ก่อตั้ง เจ้าของลิขสิทธิ์ดั้งเดิมอะไรทำนองนั้น หรือแม้แต่การกลับมาเรียกชื่อ แม่นา กอไก่ แบบดั้งเดิมก็มีเพิ่มขึ้นเหมือนกัน

- ผมสงสัยว่าเคยมีคนขุดคุ้ยบ้างหรือเปล่าว่าลูกชาวบ้านสามพี่น้องทึ่ก่อสร้างวัดนี้พวก เขาเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ชื่ออะไร  เพราะเท่าที่ผมรับรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์ของไทยจะเน้น ให้จดจำแต่เรื่องดีๆของชนชั้นปกครอง ชนชั้นสูงเพียงอย่างเดียว และจะเน้นแต่ประวัติศาสตร์สงครามซะมากกว่า ส่วนเรื่องของคนทั่วไป, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และอื่นไม่ให้ความสำคัญ

บทความชุด นาก, นาค

1. แม่นาก 1/3 แม่นากอุ้มลูกน้อยริมฝั่งน้ำ บันทึกความทรงจำที่น่าตื่นเต้ล!2. แม่นาก 2/3 แม่นากฉบับเบื้องตื้น!!
3. แม่นาก 3/3 สื่อบันเทิงแม่นาก4. ภาพ, วีดีโอ พญานาคทรงพระแปลงร่างในรูปแบบต่างๆ
5. พญานาคท่านทรง ประดิษฐ์พระแสงบั้งไฟ ให้มนุษย์ดูตั้งแต่ พ.ศ.ไหน (ประวัติบั้งไฟพญานาค)6. ปลาออร์ จากแคลิฟอร์เนีย แปลงร่างมาเป็นพญานาคแม่น้ำโขงตั้งแต่เมื่อไหร่?
7. Cute Otters น้องนากสี่ขาหน้าตาบ้องแบ้ว