วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แม่นาก 3/3 สื่อบันเทิงแม่นาก

มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อๆกันมาว่า สมัยก่อนตอนที่หนัง แม่นากเข้ามาฉายก็มีเหตุการณ์ผีแม่นาก โผล่ออกมาจากหน้าจอหนัง เพื่อทักทายกับ FC. ของนาง จนทำให้ดนดูแตกตื่นพากันกรูจากที่นั่งเพื่อเข้าไปขอลายเซ็น...เอ๊ย!ไม่ใช่ ต้องวิ่งออกจากทั้งโรงสิ...
ผมเคยถามคนเล่าเรื่องนี้นะ (ถามจริงไม่ได้แต่งเรื่องขึ้นมาเอง) ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เห็นกับตาตัวเองหรือเปล่า ปู่แกก็จะบอก..เขาเล่ามาอีกที....แหม่! น่าเสียดายที่สมัยก่อนยังไม่มีกล้องติดมือถือ เผื่อจะมีใครถ่ายรูปไว้โดยบังเอิญ มาโชว์เป็นหลักฐานซะหน่อย


สถิติสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับแม่นาก


ข้อมูลในตารางข้างล่างนำมาจาก  th.wikipedia แม่ นากพระโขนง ซึ่งจะต่างกันตรงที่ผมนำมาเรียบเรียงตามปี พ.ศ./ ค.ศ. ซึ่งพอจะสรุปได้ตามนี้


1.  ตามการคาดคะเนของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ที่เขียนว่าเรื่องของแม่นากน่าจะเกิดขึ้นช่วงปลาย ร.3 - ร.4 ถ้านับจาก ร.4 ขึ้นครองราช (6 เมษายน พ.ศ. 2394 ถึง1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) จนถึงพ.ศ. 2559 เรื่องแม่นากก็อยู่คู่สังคมไทยมา 165 ปี โดยประมาณ แต่ถ้านับจากการเขียนเรื่องแม่นากของ ก.ศ.ร. กุหลาบ พ.ศ. 2442 เป็นสื่อสาธารณะฉบับแรกมาจนถึง พ.ศ. 2559 ก็นับเป็น 117 ปี
2.  ถ้านับจาก ร.4 ขึ้นครองราช กว่าที่ นายกุหลาบ จะเขียนเรื่องแม่นากลงในหนังสือพิมพ์สยามประเภท ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 เวลาก็ได้ผ่านไปแล้วถึง 48 ปี หรือราวๆครึ่งศรรตวรรษ *ที่ผมใช้คำว่า ราวๆ, โดยประมาณ ก็เพราะว่าขนาด นายกุหลาบ ที่มีชีวิตอยู่ในสมัย ร. 5 ก็ยังคาดคะเนเอาแน่เอานอนไม่ได้เหมือนกัน

3. หนังผีแม่นากสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 ชื่อเรื่อง "นางนาค พระโขนง" กำกับโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร
4. ถ้านำสื่อแม่นากรูปแบบต่างๆที่มีการบันทึกไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ ก็จะได้จำนวนตาม นี้...ละครเวที 4 ครั้ง และใน 4 ครั้งนี้เปิดการแสดงรวมกันมากกว่า 50 รอบ รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านที่ th.wikipedia, ละครวิทยุ 10ครั้ง, หนัง 24 ครั้ง, ละครTV 8 ครั้ง, สื่อสิ่งพิมพ์ 10 ครั้ง
Note* สื่อแม่นากมีมากกว่าที่บันทึกใน th.wiki แต่บทความของผมจะอิงจากวิกิฯเพียงแหล่งเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ และมีลิงค์สืบค้นมากกว่าเว็บอื่น สื่อบันเทิงแม่นากที่ไม่มีในวิกิก็ เช่น หนัง 2 เรื่องด้านขวา ผมนำภาพมาจาก jokergameth.com ใครอยากดูรวมภาพ โปสเตอร์หนังแม่นากแต่ละเวอร์ชั่นตั้งแต่อดีตก็คลิกที่ ลิงค์นี้ครับ


พ.ศ. / ค.ศ.ลำดับ. ชื่อประเภทสื่อผู้เกี่ยวข้อง/*หมายเหตุ
2442/
1899
1. สยามประเภทหนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 ก.ศ.ร. กุหลาบ
2447/
1904
2. นากพระโขนงที่สองหนังสือนิทาน* แก้ไขข้อมูลเดิมใน wiki เขียนเป็น 2467/ เป็นตอนหนึ่งของนิทานทองอิน รายละเอียดเพื่มเติมที่ แม่นาก 2/3
2455/
1912
3. อีนากพระโขนง
ละคร เวที ละครร้องจัดแสดงที่ โรงละครปรีดาลัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ รายละเอียดเพื่มเติมที่ แม่นาก 2/3
2470/
1927
4. ดามนางนาก ฉบับบางกอกการเมืองหนังสือขุนชาญคดี
2475/
1932
5. กลอนแปด แม่นาคพระโขนงหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์
ประภาศรี
* เริ่มมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น นา, (ปีที่คณะราษฏร เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาณาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตย)
2479/
1936
6. นาง นาคพระโขนงภาพยนต์ แม่นากเรื่องแรกไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ, กำกับโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร
2481/
1938
7. ผีอีนากพระโขนงนิยาย
2493/
1950
8. ลูกนางนาค/
ลูกนางนาคพระโขนง
ภาพยนต์ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ
2495/
1952
9. นางนาคพระโขนง
นิยายตลกชุด สามเกลอ
 ป. อินทรปาลิต
10. นางนาคพระโขนงภาพยนต์ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ
2498/
1955
11. นางนาคพระโขนงภาพยนต์ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ
2502/
1959
12. แม่นาคพระโขนงภาพยนต์นำแสดง: สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง
2503/
1960
13. แม่นากพระโขนง
นิยายภาพ
ประพัฒน์ ตรีณรงค์

14. แม่นาคคืนชีพภาพยนต์นำแสดง: อดุลย์ ดุลยรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพาณิช
2505/
1962
15. วิญญาณรัก แม่นาคพระโขนงภาพยนต์นำแสดง: สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง
2511/
1968
16. แม่นาคคนองรักภาพยนต์นำแสดง: ปรียา รุ่งเรือง, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฤทธิ์ ลือชา
2513/
1970
17 แม่นาคพระนครภาพยนต์นำแสดง: มิตร ชัยบัญชา, อรัญญา นามวงศ์
2516/
1973
18. แม่นาคพระโขนง ภาพยนต์นำแสดง: ยอดชาย เมฆสุวรรณ, สุภัค ลิขิตกุล
19. แม่นาคอาละวาดภาพยนต์ นำแสดง: ยอดชาย เมฆสุวรรณ, สุภัค ลิขิตกุล
2518/
1975
20. แม่นาคอเมริกาภาพยนต์นำแสดง: กรุง ศรีวิไล, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
2519/
1976
21. แม่นาคบุกโตเกียวภาพยนต์นำแสดง: อุเทน บุญยงค์, ภาวนา ชนะจิต, อร สา พรหมประทาน
2521/
1978
22. แม่นาคพระโขนงภาพยนต์ นำแสดง: สมบัติ เมทะนี, ปรียา รุ่งเรือง, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
2522/
1979
23. แม่นาคพระโขนงละครทีวี  ช่อง 7 นำแสดง: ปริศนา วงศ์ศิริ, ชานนท์ มณีฉาย
2528/
1985
24. นางนาค ภาคพิสดารภาพยนต์นำแสดง: โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา พัวพิมล
2530/
1987
25. แม่นาค 30ภาพยนต์นำแสดง: โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา สุทธิรักษ์, ยอด นครนายก, ท้วม ทรนง, เด๋อ ดอกสะเดา, เหี่ยว ฟ้า
2532/
1989
26. แม่นาคพระโขนงละครทีวี  ช่อง 3นำแสดง: ตรีรัก รักการดี, เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์
2533/
1990
27. แม่นาคคืนชีพภาพยนต์นำแสดง: ลิขิต เอกมงคล, ชุดาภา จันทร์เขตต์
2535/
1992
28. แม่นาคเจอผีปอบภาพยนต์นำแสดง: ตรีรัก รักการดี, ณัฐนี สิทธิสมาน
2537/
1994
29. แม่นาคพระโขนงภาพยนต์นำแสดง: ดาริน กรสกุล, รอน บรรจงสร้าง
30. แม่นาคพระโขนงละครทีวี ช่อง 5นำแสดง: ลีลาวดี วัชโรบล, วรุฒ วรธรรม
2539/
1996
31. แม่นาคพระนครละครทีวี ช่อง 7นำแสดง: กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ, นุติ เขมะโยธิน
2542/
1999
32. นางนากภาพยนต์นำแสดง: ทราย เจริญปุระ, วินัย ไกรบุตร
33. แม่นาคละครทีวี ช่อง 7นำแสดง: พัชราภา ไชยเชื้อ, พีท ทองเจือ
2543/
2000
34. แม่นากพระโขนงละครทีวี ช่อง 3นำแสดง: กุลณัฐ ปรียะวัฒน์, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
35. เปิดตำนาน แม่นากพระโขนง
หนังสือ ผู้เขียน: เอนก นาวิกมูล
2553/
2010
36. นาคภาพยนต์แอนิเมชั่นเสียงพาก: ศศิกานต์ อภิชาตวรศิลป์, หม่ำ จ๊กมก, นุ้ย เชิญยิ้ม
2552/
2009
37. แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัลละครเวที จัดแสดงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม -26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์นำแสดง: นัท มีเรีย, อาณัตพล ศิริชุมแสง
38. นางนาก เดอะมิวเซียมละครเวที จัดแสดงเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่มะขาม ป้อม สตูดิโอ
39. แม่นาค เดอะมิวสิคัลจัดแสดงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552  ที่ เอ็มเธียเตอร์ นำแสดง: ธีรนัยน์ ณ หนองคาย,วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
2555/
2012
40. แม่นาค 3Dภาพยนตร์ 3 มิตินำแสดง: บงกช คงมาลัย, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
2556/
2013
41. พี่มาก..พระโขนงภาพยนต์นำแสดง: ดาวิกา โฮร์เน่, มาริโอ้ เมาเร่อ
42. แม่นาคพระโขนง รักนี้นิรันดรละครทีวี ช่อง 9นำแสดง: อมราพร พร้อมลาภ, กวี วงศ์จันทรา
2557/
2014
43. มอ 6/5 ปากหมาท้าแม่นาคภาพยนต์นำแสดง: วนิดา เติมธนาภรณ์
2559/
2016
44. แม่นาคพระโขนงละครทีวี  ช่อง 8นำแสดง: สุธีวัน ทวีสิน, มาร์ติน มิดาล

สื่ออื่นๆ ที่ไม่ระบุปี

ละครวิทยุ

45. นางนาคพระโขนง : หม่อมหลวงเปลื้อง, คุณครูละม่อม อิศรางกูร ณ อยุธยา

46. แม่นาคพระโขนง : คณะเกศทิพย์ (20 ตอน)

47. วิญญาณรักของแม่นาค : คณะแก้วฟ้า

48. แม่นาคพระโขนง : คณะกันตนา

49. นางนาก - โดย คณะ ๒๑๓ การละคร

50. แม่นาคพระโขนง : คณะรังสิมันต์

51. แม่นาคพระโขนง : คณะเสนีย์ บุษปะเกศ

52. แม่นาค : คณะมิตรมงคล

53. แม่นาคพระโขนง : คณะผาสุกวัฒนารมย์

54. แม่นาคพระโขนง : คณะนีลิกานนท์

หนังสือ

55. นิยายเรื่องแม่นาคพระโขนง (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์)

56. การ์ตูน แม่นาคพระโขนง (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์)







ข้อมูลสื่อแม่นากจากอดีตถึงปัจจุบัน บอกอะไรได้บ้าง


ผมไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ถึงขนาดไปขุดหนัง,ละครแม่นาก มาดูจนหมดทุกเรื่อง... แต่ถ้าให้วิเคราะห์จากสิ่งที่พอจะหาดูได้ในอินเตอร์เน็ท ก็พอจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงดังนี้.


1. พร็อทเรื่องหนัง/ละครแม่นากจะเป็นแบบ "จบแล้วจบเลย"

เนื้อหาสื่อบันเทิงแม่นากไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เล่าเรื่องสั้นๆก็คือ... ผัวเมียคู่หนึ่งรักกันมาก เมียมีท้องพอถึงเวลาคลอดก็ตายทั้งกลม กลายเป็นผีหวงผัวออกอาละวาด มีพระมาปราบ...จบ หนังไม่ได้สร้างปมอะไรให้น่าสงสัย ไม่ได้สร้างสถาณการณ์ที่ทำให้เกิดภาคต่อ.....เช่น ตอนจบอาจมีฉากหม้อแม่นากลอยเท้งเต้งไปตามแม่น้ำ แล้วอยู่ๆก็มีมือเด็กทะลุออกมาจากปากหม้อ... มีเสียงดนตรีดังให้คนดูตกใจ...จากนั้นก็มีเสียงผีหัวเราะ โหยหวน...แฮ๊!.. แฮ๊ะๆๆ!! การสร้างเรื่องแบบเผื่อก๊อก2 ถ้าหนังขายออกจะได้เอามาทำเป็นภาคต่อ เป็นแม่นาก Episode II. ตอน Return of The Mae Nag อะไรทำนองนี้ไม่เคยมีในหนังแม่นาค หรือถ้ามีก็เป็นแบบคนสร้างนึกอยากเอามาต่อยอดเองเพื่อหนีความซ้ำซากกับแม่นากเรื่องเก่ามากกว่า ไม่ได้เป็นแบบวางแผนไว้ล่วงหน้า และจะจบลงแค่นั้น เช่นแม่นาคคืนชีพ พ.ศ. 2503 เป็นต้น



ด้วยเหตุที่เป็นหนังแบบ "จบแล้วจบเลย" บวกกับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาแล้ว ต้องบอกว่ามีการผลิตสื่อบันเทิงแม่นากออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ถึ่ ฉะนั้นวิธีการที่จะนำหนังกลับมาขายซ้ำได้ ก็ต้องมีการปรับแต่งเนื้อเรื่อง และบทบาทของนักแสดงให้ต่างออกไปจากเดิมบ้าง (เป็นเรื่องปกติของหนังในกลุ่มนำของเก่ากลับมาขาย) ทั้งนี้ก็เพื่อผ่าทางตัน และหนีความซ้ำซาก ซึ่งถ้าดูจากโปสเตอร์จะเห็นว่าหนังแม่นากในยุคแรกๆ เน้นขายความสยองเป็นส่วนใหญ่พอซ้ำมากๆ ก็เพิ่มความเซ็กซี่เข้าไป  เปลี่ยนแม่นากเป็นนางเอกผมทองมะริกันบ้าง ย้ายไปญีปุ่นบ้าง ซ้ำอีกน่าเบื่อ เอาไปปะทะกับผีปอบก็มี ประมาณว่าพลังดาราของแม่นากเริ่มไม่ค่อยสูบเงิน เลยต้องอัญเชิญปอบหยิบ จากบ้านหนองอีแหมบ (มีด้วยเหรอ?) มาช่วยปล่อยพลังสูบว่างั้นเถอะ...ถ้าเปรียบกับหนัง Hollywood ก็มี Freddy vs. Jason (2003) , Alien vs. Predator (2004) เป็นต้น พอซ้ำซากน่าเบื่ออีก ก็เปลียนไปเน้นดราม่า, ตลก...วนเวียนไปเรื่อยๆ....


< นอกเรื่อง >
หนังระดับโลกที่เคยเจอทางตัน
 และนำมาตีความกันใหม่ก็มีเยอะ ที่เห็นได้ชัดก็เป็นหนัง Super hero รุ่น
เก๋ากึ๊กทั้งหลาย เช่น Sup, Bat, Spider เป็นต้น.
กรณี Super Man: หลังจากพี่ซุปแกเริ่มใส่บิกินนี่ตัวจิ๋วสีแดงบาดตามาตั้งแต่ปี 1932 (2475 ปีเดียวกันกับที่คณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัย ร.7) จากที่คนในอดีตเคยว้าวว! สาวๆกรี๊ด!..นานเข้ากลับกลายเป็นตัวตลกที่ผู้คนในรุ่นหลังเอามาล้อเล่นสนุกปาก สุดท้ายพี่ซุปฯก็ต้องยอมถอยกลับไป Reboot ใหม่ถึง 2 รอบ กว่าจะเลิกอาลัยอาวรกับบิกินนี่แสนรัก (ตัวนั้นเลยหละ) อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
- Rebootครั้งแรกโดยผู้กำกับ Bryan Singer (Superman Returns 2006) เนื้อเรื่องก็โอเคนะ แต่ที่ยังขัดตาอยู่ก็คือพี่ซุปแกยังมาดมั่นใน กกน. สีแดงอยู่เหมือนเดิม แถมยังดึงจะงอยผมรูปขดยากันยุงกลางหน้าผากให้ดูย้อนยุคอยู่อย่างเก่า
- Reboot  ครั้งที่ 2. ฉบับวินาศสันตะโล โดยผู้กำกับ Zack Snyder (Man of Steel 2013)...ว่าก็ว่าเถอะมีพลัง+ความไวมหาศาลขนาดนั้น แต่พี่แกกลับยืนทำหน้าเอ๋อแดก ดูพ่อเลี้ยงตัวเองตายต่อหน้าต่อตา กลางพายุทอนาโดซะงั้น....เข้!!! ทำไปได้เนาะ



2. นักแสดงที่สวมบทแม่นาก:

ถึงจะเป็นหนังผี แต่ก็ยังมีช่วงเวลาที่นางเอกแสดงบทเป็นคนด้วย ฉะนั้นนักแสดงบทแม่นากก็ยังเน้นสวยไปตามสูตรสำเร็จอยู่ดี เพราะถ้าคนสร้างหนังไปเลือกนางเอกหน้าตาสวยแบบพระ(เครื่อง)สมเด็จ มาแสดงเป็นแม่นาก เพราะมองข้ามช็อตไว้ว่า ถ้าถึงตอนเล่นบทผีจะได้ประหยัดงบ Makeup Artist นักแสดงร่วมก็จะได้ผวาอย่างเป็นธรรมชาติ แบบนี้คงไม่น่าจะเรียกคะแนนสงสารก่อนตาย (และเงินค่าตั๋ว) ได้ดีเท่านางเอกสวยๆ ส่วนจะสวยเซ็กซี่, หน้าเศร้า, อาโนโนะ หรือสวยแบบไหนนั้น ก็คงเป็นไปตามรสนิยม เรื่องผู้หญิงของคนในแต่ละยุค

ทำไมถึงเรียกว่าสวยตามสูตรสำเร็จ?
ไม่ใช่แค่นางเอกในตำนานแม่นาก จะสวยเพียงคนเดียวที่ไหนกัน ให้คุณนึกถึงนางเอก (พระเอกด้วย) ในนิทาน, ตำนานทั่วฟ้าเมืองไทยดูครับ เกือบทั้งหมดจะบรรยายว่านางเอกของแต่ละเรื่องเป็นคนสวยพราวเสน่ห์กันทั้งนั้น อย่างเช่น...หมะเมียะ ตำนานรักของสาวเมียรม่ากับจ้าวชายเชียงใหม่, ผาแดง-นางไอ่ ภาคอีสาน, นางเลือดขาวภาคใต้(ทั้งแบบพุทธ/อิสลาม), พระอภัยมณี, แก้วหน้าม้าที่ว่าไม่สวยก็แค่สวมหน้ากาก ฯลฯ แต่ละนางก็ "ว่ากันว่า" งามคับบ้านคับเมืองกันทั้งนั้น .... สวยตามสูตรสำเร็จแบบไทยๆไม่ได้มีแค่นี้ ครับ อ่านลงไปเรื่อยๆเดี๋ยวเจอเอง








3. สรรพนามใช้เรียกแม่นากที่เปลี่ยนไป


เริ่มจากสื่อเก่าจะมีการใช้คำว่า "อีนาก" เรียก "นาก" เฉยๆก็มี ต่อมาเปลี่ยนมาเรียก "นาง นา", "นางนา" และต่อๆมา - ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่นิยมใช้สรรพนามเป็น "แม่" บ้างก็เรียกเป็น "ยาย, ย่า" ก็มี ซึ่งสรรพนามที่เปลี่ยนไปนี้ ตีความได้ว่า การรับรู้ของผู้คนเกี่ยวกับเรื่องแม่นากผ่านสื่อต่างๆนั้น มีผลต่อความคิด ความเชื่อ ของผู้คนที่มีต่อแม่นาก จากที่เป็นเรื่องเล่าผีๆชาวบ้าน เปลี่ยนมาเป็นการเกิดความเคารพบูชา กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตนหนึ่งจนถึงปัจุบัน





 4. อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้ผู้คนรักผีแม่นาก
จนได้รับการอัปเกรดมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของรักแท้


4.1 การนำเสนอ บุคลิกของแม่นากผ่านสื่อต่างๆ แม่นาก คือแบบอย่างของ "หญิงงามอย่างไทย" ในอุดมคติ ที่ถูกปลูกฝังผ่านทางวัฒณธรรม และสื่อ มายาวนาน และที่สำคัญก็คือ ชายไทยตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ผมขอใช้คำว่า จำนวนไม่น้อยละกัน ก็หวังไว้ว่าอยากให้หญิงคนรักของตน "เป็นแบบแม่นาก" กล่าวคือ นอกจากแม่นากในหนังจะสวยพริ้ง ขึ้นแท่นนักสวยคอห่านเพชรแล้ว (ก่อนตายนะ) ยังมีคุณสมบัติที่ดีพร้อมในแบบที่เรียกได้ว่า แม่พันธุ์ในฝันของชายไทย เลยว่างั้นเถอะ ซึ่งต้องมีลักษณะตามนี้...
เกิดเป็นหญิงต้องรักเดียวใจเดียว อ่อนหวาน อ่อนแอนิดๆก็ดี แต่ถ้าโง่ หน่อยๆจะได้A+ หรือถ้าอยากจะฉลาดก็เอาแค่ "ฉลาดแต่พอเพียง" ดั่งสโลแกนประจำชาติของชายไทยที่ว่า รูปสวย รวยทรัพย์ อับปัญญา แถมถ้าโง่ไปถึงพ่อตาแม่ยาย...โอ้โฮ! แบบนี้ยิ่งมีหนุ่มๆหัวดำ หัวขาวแย่งกันตอมหึ่ง  เพราะหญิงงามในลักษณะนี้ จะทำให้เหล่าพ่อกะดองามทั้งหลายได้มีโอกาศเก็บคะแนน สวมบทฮีโร่คอยปกป้องแม่ขวัญอ่อน หรือมีโอกาศแสดงปาฐะกฐาโชว์ความหลักแหลมของตัวเองให้บรรดา เด็กโง่ผู้บอบบางทั้งหลายได้ประทับใจ, ถ้ามีครอบครัวก็ต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือน, หมอบแขนคลานเข่าเข้าไปประจบสอพลอ...เอ๊ย! ต้องเอาอกเอาใจสามี อย่าได้ขาดตกบกพร่อง มอบรักนินันทร์แด่ผัวจนตัวตาย คุณจะได้เห็น บุคลิกของหญิงไทยในอุดมคติที่ว่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านตัวละครแม่นาก อันที่จริงต้องเรียกว่า มีการผลิตซ้ำชุดความคิดในลักษณะนี้ผ่านตัวนางเอก...ที่เป็นนิทาน, ตำนาน, ละคร, หนัง อื่นๆอีกนับไม่ถ้วน...

* อย่าลืมนะจ๊ะสาวๆที่อยู่ในเมืองไทย: ถ้าอยากได้ผัวไวๆ ก็ให้ลดเพดานความฉลาดของตัวเองลงมาที่ระดับพอเพียง หรือต่ำกว่านั้นจะดีมากเลยจ่ะ...ถถถถถถถถถถถถ

4.2 ความเชื่อเรื่องแม่นากเป็นไปตามหลักการปลูกฝังวัฒนธรรมผ่านการได้เห็น,ได้ยิน ผสมเข้ากับลัทธิความเชื่ออย่างซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ..กล่าวคือ ในแต่ละเรื่องที่คนเราเชื่อนั้น ไม่จำเป็นต้องสมเหตุสมผลอยู่บนฐานของความเป็นความจริงเสมอไป แต่ถ้าความเชื่อ หรือเรื่องราวนั้นได้รับการถ่ายทอดอย่างซ้ำๆ คนเราได้ยินซ้ำๆ เห็นซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ ความเชื่อหรือเรื่องราวนั้นก็จะกลายเป็นความจริงในความคิดของผู้คนได้ ซึ่งความซ้ำที่ผมว่านี้มันไม่ถึงขนาดต้องเห็นหรือฟังทุกวัน แต่มันแค่ซ้ำหลายรอบ ในช่วงอายุของคนหนึ่งๆ แค่นั้นก็มีผลต่อความคิดความเชื่อของผู้คนแล้ว
Note: ถ้าคุณแสลงกับคำว่า "วัฒนธรรม" เพราะมันฟังดูแล้วน่าง่วงนอน เข้าใจยาก ให้คุณเข้าใจใหม่ว่ามันคือวิธีการ "ปลูกฝัง และควบคุมใต้สำนึก" นั่นแหละครับ...หรือถ้าคุณฟังดูแล้วมันยังออกจะเป็นวิชาการไป ผมก็จะอธิบายด้วยภาษากันเอ๊งกันเองด้วยคำว่า มันก็คือการ "ปลูกฝังสันดาน" นั่นแหละ เก็ทมั๊ย? หรือถ้าจะใช้คำว่า "ล้างสมอง" ผมก็ว่าไม่ผิดนะ เพราะการล้างสมองในความคิดของผมเป็นได้ทั้งลบ และบวก, ล้างดีก็ดี ล้างให้ชั่วก็ได้



สรุปว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้คนยกย่องให้แม่นากกลายเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็เกิดมาจากการผลิดสื่อบันเทิงซ้ำๆ ที่สร้างบุคลิคของแม่นากให้เป็นตัวแทนของหญิงงามในฝัน อย่างที่ผมเขียนไว้นั่นแหละ  ผนวกกับความเชื่อเรื่องการนับถือสารพัดผีที่หยึั่งรากฝังลึกในสังคมมานาน นานก่อนจะมีศานาทั้งหลายที่มีศาสดาเป็นเพศชายจะเข้ามาเผยแพร่ แถวนี้ซะอีก
ส่วนเรื่องอื่นผมมองไม่เห็น เพราะอ่านข้อมูลเรื่องแม่นากมาก็คิดว่าไม่น้อยนะครับ แต่ก็ยังไม่มีแหล่งข้อมูลไหนบอกไว้เลยว่า เออ! ก่อนที่แม่นากแกจะตายเนี่ยนะ แกเคยให้ทุนการศึกษาเด็ก สงเคราะห์คนชรา, นางเคยไปแข่งคณิตศาสตร์โอเล็มปิค, แม่นากเคยเรี่ยไรเงินชาวบ้านแล้วนำไปซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือภัยน้ำท่วม หรือแม่นากแกเคยแจกรูปตัวเองไปแปะตามที่ต่างๆจนท่วมบางพระโขนง เพื่อโฆษณาความดีงามของตัวเอง...นางเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรม... ค้นพบปรัชญาแนวใหม่.ฯลฯ ก็ไม่เห็นมีแหล่งข้อมูลไหนได้ว่าไว้
ถ้าคิดว่าผมให้เหตุผลตื้นเกินไป ผมมีอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่วัดทับกระดาน จ.สุพรรณบุรีครับ นักร้องลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ หลังจากตายไปแล้ว ก็ได้รับการอัปเกรดเป็นเจ้าแม่เหมือนกัน, คุณจะเอาเหตุผลลึกซึ้งอะไรมากมาย ในเมื่อต้นไม้ จอมปลวก หรือแม้กระทั่งบ่อขี้สีดำๆ พี่ไทยก็ยกให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ทั้งนั้น







หนังผีแม่นากน่าจะอยู่คู่เมืองไทยได้อีกนานแค่ไหน

เท่าที่ผมนึกออก หนังแม่นากมีข้อได้เปรียบ 4 เรื่องคือ

1. แม่นากเป็นผีชาวบ้าน  ไม่ใช่วัฒนธรรมชะฏาชะเอิงเอย ที่มีกำแพงแข็งทื่อคอยกั้นให้ต้องตรึงความคิดไปตามแบบดั้งเดิม ต้องยกย่องเทิดทูลได้เพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้สร้างปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องของหนังได้ยืดหยุ่น จะเปลี่ยนให้เป็นหนังผีแนวไหนก็ได้, ไม่เคยมีใครออกมาร้องแรกแหกกระเณอว่า....วลั๊วยย!! ย่านากท่านเป็น หจิ่งจักจิด บิดเบินประวัติจาด ห้ามลบหลู่ดูหมิ่น ไม่เจี่ยอย่าลบหลู่นะก๊ะ....ฯลฯ อะไรทำนองนี้ผมไม่เคยได้ยินข่าว

2. อาจเป็นเพราะคนดูชินกับการดัดแปลงบทหนังแม่นากมานานก็ได้ ก็เลยไม่มีใครต้องจริงจังอะไรมากนัก

3. หนัง (รวมถึงสื่อชนิดอื่นด้วย) ที่เคยนำมาผลิตซ้ำหลายรอบ มีข้อได้เปรียบตรงที่โปรโมทง่าย อย่างถ้าบอกว่า หนังแม่นาก ใครๆก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว และผูกพันธ์กับตัวละครระดับหนึ่ง อย่างเช่น ให้ตายสิผมไม่อินกับหนัง Star wars เล๊ย แต่ออกตอนใหม่ทีไรผมก็ดูเหมือนเดิม

4.  ตราบเท่าที่ความรักโรแมนติกแบบหนังแม่นากมันยังสะเทือนใจคนไทย ตราบเท่ามีคนเชื่อเรื่องผี ชอบดูหนังผี ผู้สร้างปรับเนื้อเรื่องของหนังให้น่าสนใจมันก็มีคนดู ถ้าเอาแบบถึงทางตันสุดๆ แต่จะเอาแม่นากมาขาย ก็หานางเอกสวยๆมารับบทแม่นาก แล้วนำมาทำเป็นละครเน่าๆมันก็ยังมีคนดูเหมือนเดิม

ถ้าสมมุติว่ามีคนเอาหนังแม่นาคคะนองรักกลับมาสร้างใหม่ ,ถ้าเอาฝรั่งผมทองมาแสดงเป็นแม่นาก หรือเอาแม่นากไปโชว์ง่ามดากในโตเกียว ผมอยากรู้ว่าผู้คนในสังคมปัจจุบันจะมีปฏิกริยากันไปในทิศทางไหน





การผลิตสื่อให้ผู้คนได้เห็น, ได้ยินซ้ำๆ มันมีผลต่อความคิดความเชื่อ ใช้ความคุมจิตใจคนเราได้มากมายขนาดไหน ลองอ่านตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ


นิทานอหิงสกะ (องคุลีมาล)

ก่อนที่ องคุ จะถูกอาจารณ์หลอกให้เขาไปไล่ฆ่าตัดนิ้วใครต่อใคร เพื่อแลกกับการบรรลุพลังสูงสุดของเจได ก็เกิดจากศิษย์ร่วมสำนักที่อิจจาคิดกำจัดรวมหัวกันไปเป่าหู อ. ผู้หูเบาว่า....ครู ไอ้อหิงสกะคิดจะโค่นบัลลังก์ครู!?,  คนแรกครูไม่เชื่อ, ก็ให้คนที่ 2. มาพูดอีก...ครูๆ ไอ้อหิงสกะมันจจะล้มครู, จากนั้นก็ตามมาด้วยคนที่ 3. คูๆๆไอ้อหิ....ฯลฯ, ตามด้วยคนที่ 4. คูๆๆๆ....!! จากคนแรกไม่เชื่อ ฟังซ้ำๆ ก็เกิดการเขว ได้ยินซ้ำหลายๆรอบ จากเรื่องโกหก ก็กลายเป็นเรื่องจริงในความคิดของครูคนนั้นในที่สุด

เกาหลี เหนือกับลัทธิบูชาผู้นำ

ในประเทศเกาหลีเหนือ ก็มีการผลิตสารพัดสื่อที่เกี่ยวกับคุณงามความดีของท่านผู้นำ V.1 (김일성, คิม อิล-ซ็อง, คิมอิลซุง) จนถึงปัจจุบันที่ปกครองโดยท่านผู้นำ V.3 ก็ยังมีการผลิตซ้ำอยู่เรื่อยๆ เช่น
มีการตั้งฉายาให้ท่านผู้นำไปสารพัด ท่านผู้นำตลอดกาล ท่านผู้นำยอดอัจฉริยะ ท่านผู้นำอันเป็นที่รัก ท่านผู้นำเจี๊ยวหวาน ท่านผู้นำเหนือท่านผู้นำ ท่านผู้นำเป็นบิดาแห่งเบอร์เกอร์ ฯลฯ
เวลาสร้างอะไรก็จะเอาชื่อของท่านผู้นำตั้งเพื่อเชิดชู เช่น ฝายกั้นน้ำท่านผู้นำ, ส้วมขี้ท่านผู้นำ, ถนนท่านผู้นำ, มีการเอาเงินภาษีไปสร้างอนุสาวรีย์ท่านผู้นำ ยืนตากแดดตากฝน ให้ช่าวเกาหลีเหนือได้บูชาเป็นจำนวนมาก มีป้ายแสดงคำพูดของท่านผู้นำ มีเพลงสรรเสริญท่านผู้นำ มีพิธีเคารพท่านผู้นำ ชาวเกาหลีเหนือต้องใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาจูเช ของท่านผู้นำ ฯลฯ


บทเพลงซ้ำๆ

ด้วยเนื้อร้อง+ทำนองดนตรีที่กินใจ? ของเพลงที่เล่าเรื่องของชีวิตสาวเหนือผู้แสนใสซื่อ จากบ้านนาป่าเขาให้มาเป็นแม่ค้าขายเนื้อสด มีเพลงอะไรบ้างก็ค้นหากันเอง....ใครจะคิดเหมือน คิดต่างจากผมก็แล้วแต่, ส่วนตัวผมมองว่า เพลงที่มีการผลิตเนื้อหาซ้ำๆเหล่านี้มีส่วนสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้หญิงทางภาคเหนือใน จินตนาการของบางคน เป็นคนซื่อๆ ใจง่าย เป็นกะหรี่ (ผมไม่ได้ดูถูกเหยียดหยามอาชีพนี้นะครับ, และกะหรี่ ไม่ได้เป็นคำหยาบสำหรับผม) และผมมักจะรำคาญไอ้พวกที่ออกมาดีดดิ้นเวลามีชาวต่างชาติว่า Thailand ดินแดนแห่งคุณตัว....คือคุณมึงจะไปโกรธเขาทำไมครับ ก็ขนาดคนไทยยังเอาเรื่องพวกนี้มาแต่งเพลงซ้ำแล้วซ้ำอีก บ้างก็อินในบทเพลง แหกปากร้องด้วยความซาบซึ้งน้ำหูน้ำตาใหลกันก็มี....................................

จบซะที.....ไม่มีใครสงสัยหรือครับว่าทำไมภาพประกอบบทความของผม หลายๆภาพทำไมมันไม่เกี่ยวกับเรื่องแม่นากเลย?


บทความชุด นาก, นาค

1. แม่นาก 1/3 แม่นากอุ้มลูกน้อยริมฝั่งน้ำ บันทึกความทรงจำที่น่าตื่นเต้ล!2. แม่นาก 2/3 แม่นากฉบับเบื้องตื้น!!
3. แม่นาก 3/3 สื่อบันเทิงแม่นาก4. ภาพ, วีดีโอ พญานาคทรงพระแปลงร่างในรูปแบบต่างๆ
5. พญานาคท่านทรง ประดิษฐ์พระแสงบั้งไฟ ให้มนุษย์ดูตั้งแต่ พ.ศ.ไหน (ประวัติบั้งไฟพญานาค)6. ปลาออร์ จากแคลิฟอร์เนีย แปลงร่างมาเป็นพญานาคแม่น้ำโขงตั้งแต่เมื่อไหร่?
7. Cute Otters น้องนากสี่ขาหน้าตาบ้องแบ้ว


=======================================